ความเครียดช่วงโควิด สถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบันทำทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จากการแพร่ระบาดของทั่วโลกนั้นถือเป็นปัญหาหลักที่ทำให้สภาพเศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทำให้หลายต้องหยุดกิจการชั่วคราว หรือรุนแรงถึงขั้นต้องปิดกิจการผลกระทบของปัญหานี้จึงทำให้หลายคนเกิดความเครียด ทั้งค่าครองชีพที่แพง รายได้ลดลง เงินไม่พอใช้ ภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ ความเครียดในช่วงโควิดวิดนั้นเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของหลายๆคน ปัญหามากมายที่ต้องเผชิญ สภาพจิตใจช่วง work from home เป็นปัญหาที่ทุกคนต่างก็หมดแพชชั่นในการทำงาน ส่งผลให้เกิดโรคเครียด โรคซึมเศร้าจนเป็นปัญหาสุขภาพจิตมากมาย ทำให้หลายคนต้องพาตัวเองออกมากจากความเครียด เช่น หากิจกรรมทำช่วงกักตัว หันมาออกกกำลัง หรือหากิจกรรมดูหนังฟังเพลงร่วมกับครอบครัว
การรับมือกับโรคเครียดนั้น เราควรหากิจกรรมทำเพราะภาวะนี้เป็นภาวะที่ตัวเราต้องเผชิญกับแรงกดดันต่างๆ ร่างกายของเราจะหลั่งสารสื่อประสาทที่ทำให้ร่างกายตอบสนองส่งผลให้เกิดอาการหายใจถี่ขึ้น หัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้อหด ผู้ที่มีภาวะโรคเครียดจะรู้สึกกลัว วิตกกังวล อาจรุนแรงถึงขั้นฝันร้ายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเครียดร่างกายจะตอบสนองทันทีเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด อาการของโรคเครียดคือ
1) ผู้ป่วยจะฝันร้ายหรือนึกถึงสถานการณ์ร้ายแรงที่ส่งต่อจิตใจ เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายซ้ำๆ
2) ผู้ป่วยมักจะแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกเชิงลบ มีความทุกข์ อารมณ์ฉุนเฉียว ไม่ร่าเริง และไม่มีความสุข ไม่มีอารมณ์ที่จะทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
3) ผู้ป่วยมักหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ทำให้เครียด ไม่มีสมาธิ มึนงง หรือรุนแรงถึงขั้นมีพฤติกรรมแยกตัวออกมาจากการพบปะสังคม
4) ผู้ป่วยจะเกิดภาะนอนไม่หลับ ก้าวร้าว โมโหง่าย ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
จากสถาณการณ์แพร่ระบาดของโรควิด 19 ในปัจจุบันส่งผลให้หลายคนเกิดภาวะเครียดจากปัญหาต่างๆ บางคนอาจเครียดถึงขั้นร้ายแรงจนต้องปรึกษาแพทย์ วิธีการรักษาโรคเครียดนั้น สิ่งแรกที่ควรยอมรับและพร้อมเข้าใจคือผู้ป่วยควรเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด ยอมรับและพร้อมพูดคุยระบายเรื่องที่กระทบต่อจิตใจ เราสามารถพูดคุยกับคนในครอบครัวหรือบุคคลที่ไว้ใจได้ หากเกิดภาวะความเรียดที่รุนแรงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ปรึกษาเพื่อให้แพทย์วินิจฉัย โดยแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยกล้าที่จะเผชิญกับปัญหา ปรับทัศนคติที่ผู้ป่วยมีต่อสิ่งต่างๆ แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อให้ผู้ป่วยได้บรรเทาอาการ ยาระงับอาการวิตกกังวล บำบัดจิตใจและพฤติกรรมความคิดเพื่อให้ผู้ป่วยได้บรรเทาอาการเครียดไปในทางที่ดีขึ้น ที่ บาคาร่าออนไลน์
โรคซึมเศร้า เป็นอีกหนึ่งโรคทางจิตเวช ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะทางอารมณ์ และความรู้สึกที่เกิดจากความเครียด ผู้ป่วยซึมเศร้าไม่ใช่คนที่หมดหวังจากสิ่งต่างๆรอบตัว ไม่ใช่คนอ่อนแอ ไม่ใช่คนที่เอาแต่ท้อแท้ไม่อยากเข้าสังคม หากได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและเหมาะสมโรคก็จะทุเลาลง เราจะกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขเหมือนเดิม จะกลับมาเป็นคนที่พร้อมทำกิจกรรมต่างได้ดั่งเดิม อาการของโรคซึมเศร้านั้นมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับน้อยไปจนถึงระดับรุนแรง
1) อารมณ์เปลี่ยนแปลง อาการที่พบบ่อยคือรู้สึกหดหู่ ร้องไห้บ่อย อารมณ์อ่อนไหวง่าย ผู้ป่วยบางคนอาจะไม่มีอารมณ์เศร้าที่แสดงออกชัดเจน แต่จะดูหม่นหมอง ไม่สดใส บางคนอาจจะเกิดความเบื่อหน่ายสิ่งรอบตัวจนไม่อยากพบปะสังคม รุนแรงจนกลายเป็นคนอารมณ์ร้อน หงุดหงิดง่าย อารมณ์ฉุนเฉียวจนไม่อยากเจอใคร
2) หลงลืมง่าย จิตใจเหม่อลอย จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว สมาธิในการจดจ่อสิ่งต่างๆแย่ลง ทำอะไรไม่ได้นานจะเพราะไม่มีสมาธิ ส่งผลให้เกิดอาการหงุดหงิดจากสิ่งต่างๆรอบตัว
3) ผู้ป่วยที่เกิดภาวะ โรคซึมเศร้า ขั้นรุนแรงนั้นจะมีอาการโรคจิตแต่ภาวะนี้จะเกิดเพียงชั่วคราวเท่านั้น อาการหลงผิด ประสาทหลอน คิดว่าทุกคนรอบข้างคอยกลั่นแกล้ง คิดว่าคนรอบข้างประสงค์ร้ายกับตนเองเมื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสมก็จะทุเลาลง
สามารถรักษาด้วยวิธีทางจิตและรักษาด้วยยาการรับยา วิธีรักษาของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะรักษาด้วยการทานยาต้านเศร้าให้ภาวะซึมเศร้าทุเลาลง พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ส่งผลกับสภาพจิตใจ หากิจกรรมที่ทำให้จิตใจของเราผ่อนคลาย เช่น การออกกำลังกาย ดูหนัง เล่นกีฬา พาตัวเองไปอยู่ในที่ที่ทำให้เรารู้ผ่อนคลาย ไม่เครียด ทำในสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข ไม่จมอยู่กับความคิดที่ทำร้ายตัวเอง
1) การรักษาด้วยยาเป็นการรักษาโดยตรงเพื่อปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล การรักษาด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดและปรึกษาแพทย์ทุกครั้งหากต้องทานยาชนิดอื่นร่วมด้วย กินยาอย่างต่อเนื่องจนกว่าแพทย์จะบอกให้หยุดทาน หากมีผลข้างเคียงที่ผิดปกติควรรแจ้งแพทย์โดยด่วน
2) บางคนอาจจะรักษาด้วยวิธีบำบัดจิตใจให้มีภูมิคุ้มกันจนสามารถเผชิญกับปัญหาได้ การรักษาจิตใจของผู้ป่วยซึมเศร้านั้นแพทย์จะช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยการพูดคุยถึงปัญหาเพื่อใหผู้ป่วยทำความเข้าใจและทราบสาเหตุของปัญหา แพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจและยอมรับกับที่สถารการณ์ที่ผู้ป่วยต้องเผชิญ รักษาด้วยทฤษฎีจิตวิทยาเพื่อปรับพฤติกรรมความคิดที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิด โรคซึมเศร้า