หลังจากเกิดการระบาดของ ไวรัสโควิด19 ที่ผ่านมา พบว่าเกิดการกลายพันธุ์ของไวรัสชนิดนี้ได้หลายสายพันธุ์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการกลายพันธุ์ ของไวรัสโควิด19 มาแล้ว 4 สายพันธุ์ นั้นคือ อัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา จนมาถึงปัจจุบัน เกิดการกลายพันธุ์ชนิดใหม่ ซึ่ง WHO หรือองค์การอนามัยโลก ประกาศยกระดับให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด โดยมีรหัสที่เรียกว่า โควิดสายพันธุ์ B.1.1.529 หรือ โอไมครอน (Omicron) นั้นเอง
โควิดสายพันธุ์โอมิครอน ถูกรายงานว่าพบครั้งแรกใน แอฟริกาใต้ และในปัจจุบัน มีรายงานว่ามีการระบาดไปยังประเทศอื่นๆ อีกมากมายอย่างรวดเร็ว ซึ่ง โควิดสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) มีตำแหน่งการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 ตำแหน่ง โดยมีหลักฐานบ่งชี้ว่าอาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะทำให้เกิดการกลับมาติดเชื้อซ้ำได้ นอกจากนี้ยังพบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (Receptor-binding Domain) ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเรามากกว่า 10 ตำแหน่ง ในขณะที่เชื้อโควิดกลายพันธุ์อย่างสายพันธุ์เดลตา (Delta) มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น แม้ว่าจะเป็นภูมิจากวัคซีนแล้วก็ตาม
หลายคนอาจเข้าใจว่า โควิดสายพันธุ์เดลต้า (Delta) เป็นสายพันธุ์ที่มีอาการรุนแรงและน่ากลัวที่สุด แต่ในปัจจุบัน มีโควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่เรารู้จักกันในชื่อว่า โอไมครอน ซึ่ง โควิดสายพันธุ์ โอไมครอน มีตำแหน่งการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 ตำแหน่ง และ ยังพบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (Receptor-binding Domain) ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเรามากกว่า 10 ตำแหน่ง ในขณะที่เชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา (Delta) มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น
ซึ่งนั้นหมายความว่า สายพันธุ์โอไมครอน จะสามารถแพร่กระจาย และ ติดเชื้อได้ง่ายและเร็วกว่า สายพันธุ์เดลตา 2-5 เท่า ทำให้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว
ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลการวิจัยที่ชัดเจน ว่า สายพันธุ์ Omicron มีอาการรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลตา หรือไม่ แต่มีข้อมูลว่า สายพันธุ์โอไมครอน ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าสายพันธุ์เดลตา แต่ยังไม่ส่งผลต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้เท่าสายพันธุ์เดลตา
โอไมครอน อาการไม่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่นมากนัก อาการแสดงจะคล้ายๆกับสายพันธุ์อื่น แตกต่างตรงที่จมูกยังได้กลิ่น ลิ้นยังสามารถรับรสได้เหมือนเดิม
อาการของ โอไมครอน ที่ชัดเจน ที่จะแสดงให้เราเห็น
จากรายงานส่วนใหญ่ในผู้ป่วยโควิด ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบ 2 เข็มแล้ว มักพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการเล็กน้อยหรือแทบจะไม่แสดงอาการเลย แตกต่างจากคนไข้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน อาการจะหนักกว่าคนไข้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม
ปัจจุบันพบรายงานผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์นี้แล้ว แม้ว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วจะมีอาการไม่รุนแรงหรือแทบไม่มีอาการก็ตาม สำหรับใครที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม เป็นระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไป สามารถรับวัคซีนเข็ม 3 (Booster Dose) เพราะร่างกายของเราต้องการระดับภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้น เนื่องจาก โควิด สายพันธุ์โอไมครอน เป็นสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 ตำแหน่ง จึงทำให้
สำหรับการตรวจ ATK สามารถตรวจเจอเชื้อได้ทุกสายพันธุ์ การตรวจ ATK นั้นเป็นการตรวจคัดกรองหาเชื้อเบื้องต้นเท่านั้น ดังนั้นความแม่นยำในการตรวจอาจจะมีไม่มากเท่าไหร่นัก แต่ก็สามารถใช้ในการตรวจคัดกรองเบื้องต้นได้ ก่อนที่จะไปตรวจด้วยวิธีการ RT-PCR ที่โรงพยาบาลเพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำ และถูกต้องอย่างแท้จริง
ขอบคุณบทความคุณภาพจาก บาคาร่า Allforbet.com